วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ( 1061601 )
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอนและด้านบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยและสร้างความเท่าเทียมกัน รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ
3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมและการเมือง
4. ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมนวัตกรรมทางการศึกษา
5. ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และจรรยาบรรณที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรยึดถือไว้ปฏิบัติ
6. แนวทางในการเตรียมตัวก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคงของสถาบันการศึกษาที่จะต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความอยู่รอดในอนาคต
7. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารสถานศึกษาในอนาคตซึ่งผู้บริหารถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร
สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
1. การสร้างบล็อก การใช้อีเมลล์เพื่อการสื่อสาร การใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลต่างๆและการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย สะดวก และรวดเร็ว
2. ความรู้และประสบการณ์ต่างๆจากการสอนของอาจารย์และการทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนๆซึ่งบางกิจกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพและในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้ สัปดาห์ที่ 2
1.ได้รับความรู้ในการสมัคร gmail และการสร้าง blog ของตนเองรวมถึงการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆและแหล่งข้อมูลต่างๆจากอินเตอร์เน็ต
2.ได้รับความรู้จากการอ่านบทคัดย่องานวิจัยและการเขียนเอกสารอ้างอิงงานวิจัย ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยในครั้งต่อไป
3.ได้รับความรู้ในเรื่องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
4.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งทางสังคมและการเมือง
5.ได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยกระบวนการวิเคราะห์ Swot
6.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาและการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
7.ได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
8.ได้ร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งทำให้เห็นแนวคิดที่แตกต่างของสมาชิกในกลุ่มซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่องานวิจัย
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระวิทยาศาสตร์ โดย ใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ผู้วิจัย : นายอดุลย์ จันทราเลิศ
ที่ปรึกษา : นายอานนท์ วาปีทะ , นายสุเทพ แปลงทับ
โรงเรียน : โรงเรียนบ้านดู่ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2549
บทคัดย่อ
การทำวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70 /70 และค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมในการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านดู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สาระวิทยาศาสตร์ เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน แบบฝึกเสริมทักษะประจำแผนการเรียนรู้จำนวน 14 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ประสิทธิภาพของกระบวนการ กับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/ E2) และดัชนีประสิทธิภาพของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1.การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.27/ 71.27 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้
2.การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีค่าประสิทธิผล 0.4369 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.69

เอกสารอ้างอิง
นายอดุลย์ จันทราเลิศ . (2549) .การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดู่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1.
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้แหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
2. รู้วิธีการหาข้อมูลและความรู้ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ต
3. รู้วิธีการเขียนบทคัดย่อของงานวิจัย
4. รู้วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิงที่ถูกต้อง
5. นำความรู้จากงานวิจัยไปประยุกต์ในการทำงานวิจัยครั้งต่อไป